หน้าเป็นฝ้า

รู้ก่อน 3 พฤติกรรมเสี่ยงหน้าเป็นฝ้ากระ พร้อมบอกวิธีป้องกัน

“หน้าเป็นฝ้ากระ” เป็นปัญหาใหญ่ของใครหลายคน แต่รู้ไหมว่าบางสิ่งที่เราทำในชีวิตประจำวันนั้น อาจทำให้เกิดฝ้ากระโดยไม่รู้ตัว BoNTCARE Clinic มีข้อควรรู้เกี่ยวกับ 3 พฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดฝ้ากระ พร้อมทั้งเคล็ดลับวิธีป้องกันมาแนะนำดังนี้

สาเหตุการเกิดฝ้ากระ

  1. แสงแดด : เป็นปัยจัยสำคัญ ในแสงแดดมีอัลตราไวโอเลต ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นทำให้หน้าเกิดฝ้า
  2. รอยสิว : มีการทำลายของชั้นผิว เม็ดสีจึงแตกตัวลงมาที่ผิวชั้นล่าง จึงเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดฝ้า
  3. ฮอร์โมน : พบว่าการเกิดฝ้า มีความสัมพันธ์กับฮอร์โมน โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์
  4. ความเครียด : เป็นสาเหตุสำคัญ ความเครียดที่สะสม ทำให้ร่างกายแปรงปรวน ทำให้เกิดความไม่สมดุลของการทำงาน “เม็ดสีเมลานิน” ที่มากเกินไป และสะสมจนเกิดเป็น “กระ”
  5. พันธุกรรม : เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่สามารถถ่ายทอดกันได้ เช่น พ่อแม่เป็นกระ คุณก็มีแนวโน้มเป็นอย่างมาก ที่จะเกิดกระเช่นเดียวกัน
  6. แสงสีฟ้า : หลายคนอาจมองข้ามสาเหตุนี้ เนื่องจากแสงสีฟ้าจากหน้าจอ แสงเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีผลต่อการทำงาน ของเม็ดสีผิวด้วยเช่นกัน
  7. เสื่อมตามอายุ : ฝ้ากระในผู้สูงอายุ ไม่ใช่สิ่งที่ร้ายแรง แต่มักเป็นสิ่งที่ผู้สูงอายุเป็นกังวล เกี่ยวกับสภาพผิวที่เปลี่ยนไป ซึ่งจุดด่างดำเกิดขึ้น เนื่องจากการผลิตและการกระจายตัวของ “เมลานิน” ในผิวที่เพิ่มขึ้น ฝ้ากระของผู้สูงอายุ แตกต่างจากฝ้ากระปกติทั่วไป โดยฝ้ากระจะเพิ่มมากขึ้นตามอายุ และฝ้ากระจะมีสีเข้มขึ้นบริเวณที่สัมผัสแสงแดดเป็นประจำ
  8. เครื่องสำอาง : เริ่มมีงานวิจัยมากขึ้นเรื่อยๆ คือ ความเสื่อมของผิวจากมลภาวะและสารตกค้างในเครื่องสำอาง เพราะฉะนั้นการเลือกใช้เครื่องสำอางที่ได้มาตรฐานเป็นที่สำคัญอย่างมาก
  9. โรคอื่นๆ : อย่างโรคตับแข็ง ไตวาย ดังนั้นบางภาวะเป็นธรรมชาติ เช่น การอาศัยบริเวณพื้นที่มีแสงแดดแรง 

ฝ้า กับ กระ แตกต่างกันอย่างไร?

ฝ้า มีลักษณะอย่างไร

หน้าเป็นฝ้ากระ

ฝ้า มีลักษณะเป็นปื้นๆ สีดำอมน้ำตาลตั้งแต่อ่อนจนเข้ม มักจะเห็นชัดบริเวณของโหนกแก้ม เพราะเป็นส่วนที่ถูกแดดมากที่สุดเมื่อเทียบกับอวัยวะส่วนอื่นๆ

โดย “ฝ้า” เกิดขึ้นบริเวณใบหน้า แบ่งออกได้ 3 ประเภท คือ ฝ้าตื้น , ฝ้าลึก และ ฝ้าเลือด 

ประเภทของฝ้า

หน้าเป็นฝ้า
  • ฝ้าตื้น เป็นฝ้าที่มีเม็ดสีที่เรียกว่า “เมลานิน” (Melanin) ซึ่งมีปริมาณมากที่ผิวหนังกำพร้าหรือผิวชั้นนอก จึงทำให้เกิดเป็นปื้นสีน้ำตาลบริเวณผิวหน้านั่นเอง
  • ฝ้าลึก เกิดจาก “เมลานิน” (Melanin) ที่มีมากที่ผิวชั้นหนังแท้ ซึ่งจะรักษาได้ยากกว่าฝ้าตื้น เนื่องจากอยู่ในผิวชั้นลึก และทำให้เห็นฝ้าเป็นสีเทา หรือสีน้ำตาลอ่อน 
  • ฝ้าเลือด เกิดจากความผิดปกติของเส้นเลือดใต้ผิวหนัง หรือการใช้ฮอร์โมน เช่น การรับประทานยาคุมกำเนิด ฝ้าเลือดอาจเห็นเป็นจุดเล็กๆ หรือเป็นปื้นที่ทำให้ผิวหน้าดูหมองคล้ำ และผิวแดงง่าย เมื่อเวลาถูกแสงแดดหรือไอร้อน

กระ มีลักษณะอย่างไร

หน้าเป็นฝ้า

กระ เกิดจากเซลล์สร้างเม็ดสีเมลานินในปริมาณมาก ทำให้เห็นเป็นจุดสีน้ำตาลขนาดใหญ่เล็กปะปนกันบนผิวบริเวณที่ถูกแสงแดด  ซึ่งแตกต่างจากฝ้าที่เห็นเป็นปื้นสีน้ำตาล 

กระ” ที่เกิดขึ้นบริเวณใบหน้า แบ่งได้ 4 ชนิดหลักๆ คือ กระเนื้อ , กระแดด , กระตื้น , กระลึก

ประเภทของกระ

หน้าเป็นฝ้า
  • กระเนื้อ มีลักษณะเป็นตุ่มนูนสีน้ำตาลหรือสีดำ มักเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ พบได้ตั้งแต่วัยรุ่น และเพิ่มจำนวนได้ตามอายุ
  • กระแดด มีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาล ขนาด 0.3-2 เซนติเมตร จะพบได้ในผู้ที่ถูกแสงแดดเป็นระยะเวลานาน มักพบในวัยกลางคน
  • กระตื้น เป็นกระที่พบได้บ่อย มีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาลอ่อน ขนาดเล็ก มักเกิดบริเวณที่ถูกแสงแดด เช่น บริเวณโหนกแก้ม 
  • กระลึก เป็นกระที่เกิดในผิวชั้นลึก จึงเห็นเป็นจุดสีน้ำตาลหรือสีเทา ขอบเขตไม่ชัดเจนบริเวณโหนกแก้ม มักจะพบในคนเอเชีย

3 พฤติกรรมเสี่ยงหน้าเป็นฝ้ากระ

1. การถูกแสงแดดบ่อยๆ เป็นเวลานาน

หน้าเป็นฝ้า

แน่นอนว่าการเผชิญหน้ากับ “แสงแดด” มีทั้งแสง UVA, UVB เป็นสาเหตุสำคัญ ที่กระตุ้นการสร้างเม็ดสี การถูกแสงแดดบ่อยๆ ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ยิ่งทำให้หน้าเกิดฝ้ากระเข้มขึ้นได้

2. ความเครียดสะสม

หน้าเป็นฝ้า

หลายคนอาจสงสัยว่า ความเครียดเป็นสาเหตุทำให้เกิดฝ้ากระได้จริงหรือ? ใช่แล้วค่ะ !! ความเครียดคือพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดฝ้ากระ เพราะเมื่อเกิดความเครียด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนความเครียดออกมา ทำให้เซลล์เม็ดสีผลิตเมลานินเพิ่มมากขึ้น จนเกิดเป็นฝ้ากระในที่สุด 

3. การรับประทานยาคุมเป็นเวลานาน

หน้าเป็นฝ้า

พฤติกรรมเสี่ยงหน้าเป็นฝ้ากระที่หลายคนมองข้าม คือการรับประทานยาคุมกำเนิดอย่างต่อเนื่อง เพราะยาคุมกำเนิดมีส่วนผสมของ “ฮอร์โมนเพศ” ซึ่งกระตุ้นการสร้างเม็ดสีที่ผิว ดังนั้นคนที่รับประทานยาคุมเป็นระยะเวลานานจึงมีโอกาสเกิดฝ้ากระ ได้ง่ายกว่าผู้ที่ไม่ได้รับประทานยาคุมกำเนิด

วิธีแก้ปัญหาหน้าเป็นฝ้ากระ

  • การทาครีมกันแดด : ควรทาครีมกันแดดที่มีคุณสมบัติป้องกันทั้งแสง UVA และ UVB โดยใช้ครีมกันแดดที่มี SPF 50+++ PA++ ทาทั่วหน้า ลำคอ และบริเวณผิวที่ถูกแสงแดด ทาทุกวันและทาก่อนออกแดดอย่างน้อย 30 นาที ในกรณีมีเหงื่อออก ให้ทาครีมกันแดดซ้ำทุก 2 ชั่วโมง เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่ดีในการป้องกันแสงแดด 
  • การหยุดยาคุมกำเนิด : การรับประทานยาคุมกำเนิดเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้เกิดฝ้ากระได้ จึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานยาคุมกำเนิด และเลือกใช้วิธีการคุมกำเนิดแบบอื่นแทน
  • ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางผิวหนัง : เนื่องจากการรักษาฝ้ากระ มีหลายวิธี จึงควรได้รับคำปรึกษาดูแลโดยแพทย์เฉพาะทางผิวหนัง เพื่อให้ได้รับการรักษาที่ตรงจุด และเหมาะสำหรับผู้รับบริการแต่ละท่าน ปัจจุบันการรักษาฝ้ากระ สามารถใช้ยารับประทาน ยาทา รวมถึงการทำหัตถการต่างๆ เช่น การทำทรีทเมนต์บางชนิด รวมทั้งการใช้เลเซอร์ ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะเห็นผลชัดเจนและรวดเร็ว

การรักษาฝ้ากระด้วย Reju Laser

หน้าเป็นฝ้า

เป็นการใช้เลเซอร์รักษาฝ้ากระที่ได้ผลรวดเร็ว  สะดวก และมีมาตรฐานความปลอดภัยสูง (US FDA) เพื่อให้ผิวดูสว่างใส เรียบเนียน ทั้งยังช่วยกระตุ้นคอลลาเจน

Reju Laser คืออะไร

Reju Laser คือ เลเซอร์ที่ได้รับการพัฒนาขึ้น เพื่อใช้ดูแลรักษาปัญหาผิวที่หลากหลาย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือปัญหาฝ้ากระ โดย Reju Laser จะทำให้เกิดการแตกตัวของเม็ดสี ในบริเวณผิวที่เป็นฝ้ากระ ทำให้ผิวสว่างใส และสร้างผิวใหม่ที่เรียบเนียนขึ้นมาทดแทน

Reju Laser ทำได้บ่อยแค่ไหน

ปกติมักจะทำประมาณ 4-6 ครั้ง โดยทำห่างกันครั้งละประมาณ 2-4 สัปดาห์ หลังทำสามารถแต่งหน้า ใช้ชีวิตตามปกติ ไม่ต้องพักฟื้น

รักษาฝ้ากระด้วยเลเซอร์ หน้ามีโอกาสกลับมาเป็นไหม?

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาฝ้ากระ “ให้หายขาด” ถ้าสามารถป้องกันผิวจากแสงแดดได้ จะทำให้ผลการรักษาฝ้ากระจางลงในระยะยาว แต่ถ้าไม่สามารถหลีกเลี่ยงแสงแดดได้ อาจทำให้กลับเป็นฝ้ากระซ้ำ ดังนั้น สิ่งสำคัญในการรักษาฝ้ากระ คือ หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดฝ้ากระ ได้แก่ แสงแดด และทาครีมกันแดดให้ได้ประสิทธิภาพอย่างเป็นประจำ

Q&A คำถามที่พบบ่อย

ฝ้า มีลักษณะเป็นปื้นๆ สีดำอมน้ำตาลตั้งแต่อ่อนจนเข้ม มักจะเห็นชัดบริเวณของโหนกแก้ม

กระ เกิดจากเซลล์สร้างเม็ดสีเมลานิน ในปริมาณมาก ทำให้เห็นเป็นจุดสีน้ำตาลขนาดใหญ่เล็กปะปนกัน

  1. การถูกแสงแดดบ่อยๆ เป็นเวลานาน : การเผชิญหน้ากับ "แสงแดด" เป็นสาเหตุสำคัญ ที่กระตุ้นการสร้างเม็ดสี ยิ่งโดนแดดบ่อยๆ ยิ่งทำให้หน้าเกิดฝ้ากระเข้มขึ้น
  2. ความเครียดสะสม : เมื่อเกิดความเครียด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนความเครียดออกมา ทำให้เซลล์เม็ดสีผลิต "เมลานิน" เพิ่มมากขึ้น จนเกิดเป็นฝ้ากระ
  3. การรับประทานยาคุมเป็นเวลานาน : ยาคุมกำเนิดมีส่วนผสมของ "ฮอร์โมนเพศ" ซึ่งกระตุ้นการสร้างเม็ดสีที่ผิว ดังนั้นคนที่รับประทานยาคุม เป็นระยะเวลานาน จึงมีโอกาสเกิดฝ้ากระได้
  • การทาครีมกันแดด
  • การหยุดยาคุมกำเนิด
  • ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านผิวหนัง

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาฝ้ากระ "ให้หายขาด" ดังนั้น สิ่งสำคัญในการรักษาฝ้ากระ คือ หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดฝ้ากระ ได้แก่ แสงแดด และทาครีมกันแดดอย่างเป็นประจำ

หากท่านใดมีข้อสงสัยเพิ่มเติม BoNTCARE Clinic ยินดีให้คำปรึกษา และสามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทาง